ตำลึง
เป็นผักที่เรารับประทานเป็นอาหารประจำวันอยู่แล้ว มีรายงานการศึกษาวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่า ทุกส่วนของตำลึง ตั้งแต่ ราก ลำต้น ใบ และผล สามารถลดน้ำตาลในเลือดได้โดยกลไกการออกฤทธิ์ จะคล้ายกับยาแผนปัจจุบันชื่อ Tolbutamide
อีกทั้งยังมีวิตามินAมหาศาล ช่วยป้องกันโรคตาบอดในเด็กตามชนบท ทั้งยังประกอบด้วยแคโรทีน ซึ่งมีประโยชน์ในการชะลอความแก่และต้านมะเร็ง ตำลึงจึงเป็นผักที่ควรจะเป็นอาหารหลักของผู้ป่วยเบาหวานเพราะไม่มีพิษภัย และยังสามารถนำมาทำอาหารหลากหลายรูปแบบได้อย่างเอร็ดอร่อย
มะระ
ในการลดเบาหวานพบว่า มีสารชื่อpolypeptide-p ซึ่งไปลดการดูดซึมของกลูโคส อีกทั้งมะระยังลดการเกิดต้อกระจก ซึ่งเป็นผล-ข้างเคียงของคนเป็นเบาหวานได้อีกด้วย การทำนำ้มะระ-คั้นสดๆ จึงน่าจะเป็นเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพของคนเป็นโรคเบาหวาน หรือจะรับประทานมะระในรูปแบบของอาหารอื่นๆก็ไม่ว่ากัน แต่สำหรับคนที่หนาวง่าย ร่างกายเย็น คนจีนเชื่อว่าไม่ควรรับประทานมะระทุกวัน เพราะจะทำให้ร่างกายเย็นเกินไป หรือถ้ารับประทานทุกวัน ควรรับประทานอาหารที่มีธาตุร้อนร่วมด้วย เช่น ขิง หรือพริก(ควรรับประทานมะระจิ้มพริกซะเลย)
ใบมะยม
เป็นผักที่มีวิตามิน A และ C สูููงมากอีกชนิดหนึ่ง ชาวอีสานนิยมทานใบมะยมแกล้มกับส้มตำ มีรายงานการศึึกษาวิจัยพบว่า น้ำสกัดจากใบมะยม สามารถลดน้ำตาลในหนูที่เป็นเบาหวานและไม่เป็นเบาหวาน ดังนั้นคนที่เป็นเบาหวานควรทานใบมะยมเป็นหลัก แต่คนปกติไม่ควรทานใบมะยมมากเกินไป
ผักบุ้ง
เป็นผักที่คนไทยคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี และรู้มานานว่าเป้นผักสมุนไพรที่บำรุงสายตา เพราะอุดมด้วยวิตามินA แต่สำหรับคนอินโดนีเซียมักกินผักบุ้งแดง เป็นอาหารรักษาเบาหวาน ปัจจุบันพบว่า ในผักบุ้งมีสารคล้ายอินซูลินสามารถลดน้ำตาลในเลือดได้จริง ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงควรรับประทานผักบุ้งเป็นประจำ ผักบุ้งยังช่วยลดการท้องผูก ลดอาการร้อนในได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
สะตอ
เป็นผักประจำถิ่นและเป็นสัญลักษณ์ของภาคใต้ สะตอสามารถนำมาทำอาหารได้หลายชนิด รับประทานเป็นผักสด หรือจะนำมาผัดก็ได้ทั้งนั้น การศึกษาวิจัยพบว่า สะตอสามารถลดน้ำตาลในเลือดในหนูที่เป็นเบาหวานได้ แต่ไม่มีผลในหนูที่ปกติ ทั้งยังสามารถช่วยลดความดันได้อีกด้วย คนไข้เบาหวานประเภทนี้ จึงควรรับประทานสะตอเป็นหลัก
ที่มา : มูลนิธิสุขภาพไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น